หางกุ้ง ประโยชน์เพียบ ไม่ควรเด็ดทิ้ง
703 Views
อังคารที่ 15 มิถุนายน 2564
หากจะพูดถึงอาหารทะเล คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันมากที่สุด คงหนีไม่พ้น “กุ้ง” ที่เป็นวัตถุดิบหลัก ที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลานาน และกุ้งไม่ได้มีดีเพียงแค่ให้ความอร่อย แต่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย แต่คนส่วนใหญ่จะเลือกกินเฉพาะเนื้อของมัน และจะเด็ดหัวเด็ดหางทิ้ง แต่รู้หรือไม่ว่า ส่วนที่มีประโยชน์มากที่สุด ก็คือส่วนของ”คาง” และ”หางกุ้ง” นั้นเอง
วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” มีข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับประโยชน์ของกุ้ง มาฝากกัน
ประโยชน์ของกุ้ง
1.คางกุ้ง
คางกุ้ง ก็คือส่วนของหัวกุ้ง ใครหลาย ๆ คนมักจะโยนทิ้ง เพราะไม่เห็นประโยชน์ แท้จริงแล้ว หัวกุ้งมีประโยชน์อย่างมาก ที่ให้แคลเซียม และไคโตซาน ที่สามารถช่วยดักจับไขมันที่เป็นส่วนเกินของร่างกายได้เป็ยอย่างดี
2.มันกุ้ง
มันกุ้ง คงเป็นที่ชื่นชอบของใครหลาย ๆ คน แต่มันกุ้งนั้น เปรียบเสมือนกับตับของคน ที่ทำหน้าที่ในการกองสารพิษ และเชื้อโรคออกจากกระแสเลือด ตับจึงเป็นที่รวมของสารพิษต่าง ๆ ที่ตกค้าง เราจะเห็นมันกุ้งอยู่ตรงบริเวณส่วนหัว เป็นจำนวนมาก มันกุ้งจึงเป็นแหล่งรวมพิษภัย และสร้างโรคภัยให้แก่ผู้รับประทานได้อย่างดี และหากรับประทานมากจนเกินไป จะเสี่ยงทำให้เกิดโรคภัยในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ และภาวะหลอดเลือดต่างตีบตัน อีกด้วย
3.เนื้อกุ้ง
เนื้อกุ้งมีโปนตีนในปริมาณสูง และมีแร่ธาตุ วิตามินอื่น ๆ ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย และมีคอเลตเตอรอลที่ต่ำ จึงทำให้กรดอมิโนที่ได้จากกุ้ง เป็นชนิดที่ย่อยง่าย และร่างกายสามารถดึงไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
4.เปลือกกุ้ง
หลาย ๆ คน ก่อนจะกินกุ้ง ก็ต้องแกะเปลือกก่อนทุกครั้ง แต่เชื่อหรือไม่ว่า เปลือกกุ้งนั้นมีประโยชน์ในหลาย ๆ อย่าง ซึ่งสามารถ ต่อต้านแบคทีเรีย และเชื้อรา รวมไปถึงยังสามารถนำมาใช้รักษาแผลไฟไม้ได้อีกด้วย
5.หางกุ้ง
หางกุ้ง จะมีสารไคติน ซึ่งเป็นสารพอลิเมอร์ชีวภาพ และให้ประโยชน์ในการเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง เนื่องจากมีโปรตีนที่สูง และมีคอลลาเจน ที่สามารถช่วยซ่อมแซมผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวที่ตายไปแล้ว อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถดึงไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
สารไคติน คืออะไร
สารไคติน เป็นสารพอลิเมอร์ชีวภาพ ซึ่งสามารถพบในสิ่งมีชีวิต ที่มีเปลือกหุ้มลำตัว เช่น กุ้ง ปู หอย แมลง รวมถึงผนังเซลล์ของเชื้อรา ยีสต์ และสาหร่าย สารนี้ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างป้องกัน และสร้างความแข็งแรงให้กัร่างกาย
ไคตินแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
1.อัลฟาไคติน
มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใย เรียงซ้อนกันสลับไปมาหลายชั้นในคนละทิศ และแน่น ทำให้มีโครงสร้างแข็งแรง เช่น ไคตินในเปลือกกุ้ง ไคตินในกระดองปู เป็นต้น
2.เบต้าไคติน
มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใย เรียงซ้อนกันในทิศทางเดียวกันหลายชั้น แต่ไม่แน่นมาก เหมือนชนิดอัลฟาไคติน ทำให้มีโครงสร้างแข็งแรงน้อย เช่น ไคตินในปลากหมึก เป็นต้น
3.แกมมาไคติน
เป็นไคตินที่มีลักษณะของไคตินอัลฟา และไคตินเบต้า มีลักษณะโครงสร้างเป็นเส้นใยเรียงซ้อนกันไปมาหลายชั้นแบบไม่มีทิศทาง ทำให้มีโครงสร้างแข็งแรงน้อย เช่น ไคตินในเชื้อราเป็นต้น
สรุป
ทั้งนี้ควรเลือกรับประทานกุ้งแบบสุก และควรทำความสะอาดก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง
อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพจาก
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/907766/